简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:Megaland แพลตฟอร์ม NFT สัญชาติไทยประกาศยุติบริการ 1 ส.ค. 2568 หลังกระแส NFT ซบเซาและขาดการใช้งานจริง เคยเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันวงการ NFT ไทย ผู้ใช้งานควรเร่งตรวจสอบบัญชีและติดตามประกาศถอนทรัพย์สิน
หลังเงียบหายจากหน้าสื่อไปนาน ล่าสุด Megaland แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT สัญชาติไทยที่เคยถูกขนานนามว่า “Opensea แห่งแดนสยาม” ได้กลับมาอัปเดตผ่านเพจ Facebook อีกครั้ง พร้อมข่าวร้ายสำหรับแฟนคลับ เมื่อมีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าแพลตฟอร์มจะ ยุติการให้บริการในวันที่ 1 สิงหาคม 2568
แอดเหยี่ยวต้องบอกเลยว่า ข่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจนักในแวดวงคริปโตและ NFT ที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงทั่วโลกในขณะนี้ แต่ก็ยังเป็นการปิดฉากแพลตฟอร์มไทยที่เคยรุ่งเรืองอย่างน่าเสียดาย
Megaland จากแพลตฟอร์มดาวรุ่ง สู่วันอำลา
Megaland ถือเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม NFT ที่แจ้งเกิดได้ในช่วงกระแสคริปโตบูม โดยเฉพาะในช่วงปี 2021–2022 ซึ่ง NFT ได้รับความสนใจจากทั้งนักลงทุน ศิลปิน และแบรนด์ต่าง ๆ อย่างล้นหลาม
แพลตฟอร์มนี้เคยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ NFT เข้าสู่กระแสหลักของไทย ด้วยการจับมือกับพันธมิตรระดับชาติอย่าง Bitkub, โครงการเกม Morning Moon Village, เวที Miss Universe Thailand และครีเอเตอร์ท้องถิ่นอีกมากมาย
ในช่วงพีคของตลาด Megaland เคยถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในฐานะแพลตฟอร์มที่เปิดพื้นที่ให้คนไทยสามารถสร้าง-ขาย-เก็งกำไรจาก NFT ได้โดยไม่ต้องพึ่งบริการต่างประเทศ
ปิดฉากในยุคที่ NFT ต้องเผชิญความจริง
ประกาศยุติบริการในครั้งนี้ไม่ได้ระบุเหตุผลเชิงลึก แต่หากมองจากภาพรวมตลาด NFT ทั่วโลก แอดเหยี่ยวกล้าฟันธงว่าสาเหตุหลัก ๆ น่าจะหนีไม่พ้น:
ขณะที่นักลงทุนบางกลุ่มเริ่มโยกเงินไปยัง L2, memecoin, RWA หรือ AI-token ที่มีความน่าตื่นเต้นและโอกาสเก็งกำไรมากกว่า
ผู้ใช้ควรทำอย่างไร?
ในขณะนี้ ทาง Megaland ยังไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการถอนทรัพย์สิน, NFT หรือ Token ที่อาจยังค้างอยู่ในระบบ ก่อนวันปิดบริการ 1 สิงหาคม 2568 นี้
แอดเหยี่ยวแนะนำให้ผู้ใช้งานเข้าไปตรวจสอบบัญชีของตัวเองโดยเร็ว และติดตามประกาศเพิ่มเติมจากทางเพจอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้พลาดการถอนทรัพย์สินหรือข้อมูลสำคัญ
.
การปิดตัวของ Megaland อาจเป็นแค่หนึ่งในอีกหลายกรณีที่สะท้อนความเป็นจริงของตลาดคริปโตและ NFT ว่า “ทุกกระแสย่อมมีวันซา”
และแม้ NFT อาจกลับมารุ่งอีกครั้งในอนาคตเมื่อมีการพัฒนา Use Case ที่จับต้องได้มากขึ้น แต่สิ่งที่นักลงทุนควรตระหนักคือ อย่าทุ่มสุดตัวกับสิ่งที่ยังไร้รากฐานที่มั่นคง
สุดท้ายนี้ แอดเหยี่ยวขอชื่นชมทีมงาน Megaland ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันวงการ NFT ไทยให้เป็นที่รู้จัก และหวังว่านี่จะเป็นเพียงการปิดฉากเวทีหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การเริ่มต้นใหม่ที่ใหญ่กว่าในอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก Siamblockchain
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ปลายเดือนมิถุนายน 2568 นักลงทุนคริปโตถูกปล้นเงินสดกว่า 3.4 ล้านบาทกลางลานจอดรถห้างดังย่านลาดพร้าว ขณะทำธุรกรรมซื้อขายเหรียญดิจิทัลกับกลุ่มคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดในการก่อเหตุ ผู้เสียหายได้นัดหมายซื้อขายล่วงหน้า ก่อนถูกบุกปล้นและหลบหนีโดยรถยนต์ เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสืบสวน พบมีการวางแผนล่วงหน้า เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นความเสี่ยงสูงของการทำธุรกรรมนอกระบบและถือเงินสดจำนวนมากในตลาดคริปโต
แม้ Squid Game Season 3 จะเป็นเพียงซีรีส์ แต่เรื่องของ “มยองกี” ยูทูบเบอร์สายคริปโตผู้ล้มละลายจากความมั่นใจเกินตัว กลับสะท้อนความจริงเจ็บลึกของนักลงทุนยุคใหม่ที่หวังรวยเร็วโดยไม่มีแผนสำรอง การล้มของเขาคือบทเรียนสำคัญว่า “ความรู้ไม่เท่ากับภูมิคุ้มกัน” และ “ความสำเร็จครั้งก่อน ไม่ใช่เกราะป้องกันความผิดพลาดครั้งหน้า”... อย่ารอให้พลาดแล้วค่อยเข้าใจว่า เกมการลงทุนก็โหดไม่ต่างจากเกมเอาชีวิตรอด
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างเกณฑ์ใหม่ ที่อนุญาตให้ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลออกโทเค็นยูทิลิตี้ของตนเองได้ ภายใต้การกำกับเข้มงวด เช่น การเปิดเผยบุคคลที่เกี่ยวข้อง และติดสัญลักษณ์เตือนในระบบรายงาน จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมควบคู่กับการคุ้มครองผู้ลงทุน แพลตฟอร์มที่มีโทเค็นอยู่แล้วต้องเปิดเผยข้อมูลภายใน 90 วัน ผู้สนใจสามารถแสดงความเห็นได้ถึง 21 กรกฎาคม 2568 ผ่านเว็บไซต์ ก.ล.ต.
Trezor เตือนผู้ใช้งานทั่วโลกถึงแคมเปญฟิชชิ่งที่แอบอ้างเป็นทีมซัพพอร์ต เพื่อหลอกขอข้อมูลสำคัญอย่าง seed phrase โดยใช้ฟอร์มติดต่อบนเว็บไซต์หลอกระบบส่งอีเมลอัตโนมัติ Trezor ย้ำว่าไม่มีนโยบายขอข้อมูลสำรองใด ๆ และระบบยังปลอดภัย ขณะเดียวกัน การโจมตีแบบ spear phishing ในวงการคริปโตยังเกิดถี่ขึ้น วิธีป้องกันคือไม่เปิดเผย seed phrase และตรวจสอบแหล่งที่มาของอีเมลทุกครั้ง.