简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (24 มี.ค.) โดยได้แรงหนุนจากความแข็งแกร่งของข้อมูลด้านกิจกรรมทางธุรกิจในสหรัฐฯ รวมทั้งการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ส่งสัญญาณใช้ความยืดหยุ่นในการดำเนินมาตรการภาษีศุลกากร
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.16% แตะที่ระดับ 104.258
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 150.55 เยน จากระดับ 149.22 เยนในวันศุกร์ (21 มี.ค.) และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8833 ฟรังก์ จากระดับ 0.8830 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.4315 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.4347 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0806 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0821 ดอลลาร์ในวันศกร์ ส่วนเงินปอนด์ทรงตัวที่ระดับ 1.2927 ดอลลาร์
ปธน.ทรัมป์ยืนยันว่าจะประกาศใช้ภาษีศุลกากรตอบโต้ตามที่วางแผนไว้ในวันที่ 2 เม.ย. อย่างไรก็ดี สื่อหลายแห่งรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ในคณะบริหารของปธน.ทรัมป์ว่า ภาษีศุลกากรซึ่งจะเรียกเก็บเป็นรายภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาษีนำเข้ารถยนต์และเซมิคอนดักเตอร์นั้น มีแนวโน้มว่าจะยังไม่ประกาศใช้ในวันดังกล่าว และคณะบริหารของปธน.ทรัมป์อาจจะการยกเว้นภาษีสำหรับบางประเทศ
นักลงทุนมองว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณว่าปธน.ทรัมป์อาจใช้ความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการค้า ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงการทำสงครามการค้าเป็นวงกว้าง และจะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ รอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53.5 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 51.6 ในเดือนก.พ.
ดัชนี PMI ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้การขยายตัวของภาคธุรกิจสหรัฐ โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของภาคบริการ
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
ขอบคุณ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ราคาทองคำเช้าวันจันทร์ปรับลดลง จากแรงกดดันค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าหลังตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ แข็งแกร่ง ทำให้ตลาดลดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่คำขู่ขึ้นภาษีของทรัมป์ยังไม่หนุนแรงซื้อทองอย่างมีนัยสำคัญ
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
บทความนี้นำเสนอภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2568 ท่ามกลางความผันผวนจากปัจจัยต่างประเทศ ดอกเบี้ยนโยบายที่ยังอยู่ในระดับสูง และค่าเงินบาทที่ยังแกว่งตัว นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการคาดเดาตลาด และหันมา “วางแผน” โดยเน้นการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ ทองคำ รวมถึงสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดอย่าง REITs และหุ้นปันผล นอกจากนี้ยังแนะนำธีมการลงทุนเด่น เช่น หุ้นสุขภาพ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับ AI และพลังงานสะอาด เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในช่วงตลาดผันผวน เป้าหมายสำคัญคือการสร้างพอร์ตที่สมดุล ปรับตัวทัน และพร้อมรับความไม่แน่นอนในอนาคต
รีวิวโบรกเกอร์
GTCFX
EC Markets
Exness
IC Markets Global
TMGM
XM
GTCFX
EC Markets
Exness
IC Markets Global
TMGM
XM
GTCFX
EC Markets
Exness
IC Markets Global
TMGM
XM
GTCFX
EC Markets
Exness
IC Markets Global
TMGM
XM