简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดยล่าสุดมีเอกสารสำคัญเกี่ยวกับเกี่ยวกับคริปโตของศาสนาอิสลามออกมา หลังจากนั้นก็มีกระแสตอบรับจากโซเชียลมีเดียค่อนข้างไปในทางลบ เนื่องจากมีหลายกลุ่มคนที่คิดต่าง และไม่เห็นด้วย
เป็นที่รู้กันดีว่า ‘คริปโตเคอเรนซี่’ นั้นแพร่หลายกระจายไปทั่วโลก หลายกลุ่มคน และหลายศาสนา โดยล่าสุดมีเอกสารสำคัญเกี่ยวกับเกี่ยวกับคริปโตของศาสนาอิสลามออกมา หลังจากนั้นก็มีกระแสตอบรับจากโซเชียลมีเดียค่อนข้างไปในทางลบ เนื่องจากมีหลายกลุ่มคนที่คิดต่าง และไม่เห็นด้วย
ในทางหลักศาสนบัญญัตินักวิชาการร่วมสมัยต่างมีทัศนะตรงกัน สกุลเงินดิจิทัลในสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ยังขาดคุณสมบัติที่จะใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้ตามหลักศาสนบัญญัติ และไม่สามารถใช้เป็นหน่วยกำหนดราคาสิ่งของต่างๆ ได้ด้วยเหตุผลหลายประการต่อไปนี้
1.สกุลเงินดิจิทัล ถูกสร้างขึ้นจากกลไกคณิตศาสตร์ที่กำหนดจำนวนไว้จำกัด ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ถอดรหัสเพื่อนำเงินออกจากกลไก สกุลเงินชนิดนี้จึงมีเพียงตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ อีกทั้งไม่มีสถาบันกลางที่น่าเชื่อถือคอยควบคุม และธนาคารทั้งหลายรวมทั้งกฎหมายก็ไม่รับรองว่าสามารถใช้ในการชำระหนี้ได้ และสกุลเงินชนิดนี้ก็ไม่ได้อ้างอิงกับสกุลเงินท้องถิ่นที่มีมูลค่าแน่นอนด้วย ประกอบกับไม่สามารถตรวจสอบผู้ที่อยู่เบื้องหลังความเปลี่ยนแปลง และความผันผวนที่เกิดขึ้นได้
2. ในหลักศาสนบัญญัติกำหนดว่า สกุลเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้จะต้องถูกสร้างขึ้นจากรัฐ ด้วยเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจ และหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเงินที่ได้รับการยอมรับว่ามีมูลค่าในตัวเอง เช่น เหรียญเงิน เหรียญทองคำ ฯลฯ หรือจะเป็นเงินตราเฟียต (Fiat Currency) ในรูปแบบธนบัตรที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ก็ตาม
ในเรื่องดังกล่าวนี้ท่านอีหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮำบัด ได้กล่าวว่า
“ไม่อนุญาตให้ผลิตเหรียญเงินขึ้นใช้ นอกจากที่โรงกษาปกรณ์ ตามคำประกาศของผู้มีอำนาจแห่งรัฐเท่านั้น เพราะหากปล่อยให้เป็นเรื่องของคนทั่วไปสามารถทำได้แล้ว ปัญหาใหญ่ๆ ย่อมจะเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้”
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่า สกุลเงินที่สามารถใช้ได้ตามหลักศาสนา คือ สกุลเงินที่ได้รับการรับรองจากภาครัฐให้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้
3. ในหลักศาสนบัญญัติกำหนดว่า ธุรกรรมใดๆ ก็ตามจะต้องมีความชัดเจนในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในลักษณะแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ หรือจะเป็นการซื้อขายโดยผ่านธนบัตรอ้างอิงกับมูลค่า และถูกค้ำประกันโดยรัฐ ความชัดเจนที่ว่านี้ครอบคลุมถึงความชัดเจนในตัวคู่ค้า ความชัดเจนในตัวสินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยน ความชัดเจนในระบบที่สามารถนำไปสู่การตรวจสอบ และป้องกันความเสียหาย ซึ่งเมื่อเราหันมาพิจารณาเงินดิจิทัลแล้ว จะพบว่าเงื่อนไขสำคัญหลายประการที่กล่าวมานี้ไม่มี และเมื่อเงื่อนไขเหล่านี้หายไป โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อคู่ค้า และระบบเศรษฐกิจจึงมีมาก
ท่านอีหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮำบัด ได้กล่าวว่า
“ปราชญ์ทั้งหลายต่างมีความเห็นที่ตรงกันว่า การซื้อขายจะถูกต้อง และใช้ได้นั้นจะต้องมีความโปร่งใสชัดเจนจากบุคคลที่ชัดเจน สินค้าที่ชัดเจน และต้องทำผ่านช่องทางได้ก็ตามที่สามารถสืบรู้ และตรวจสอบได้”
ทั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การใช้สกุลเงินดิจิทัล ตามสภาพที่เห็น และเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อธุรกรรม และชำระหนี้สิน ไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักศาสนบัญญิติ ส่วนในอนาคตข้างหน้าหากมีการปรับแต่งสกุลเงินดิจิทัลให้มีรูปแบบ และเงื่อนไขที่สอดคล้องกับหลักศาสนบัญญัติแล้ว หลักการ และคำวินิจฉัยย่อมเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
ติดตามข้อมูลข่าวสารวงการคริปโต พร้อมตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน ได้ที่….
App : “WikiBit” (ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!)
Facebook : https://www.facebook.com/Wikibit.th/
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Kiyosaki กลับมาอีกครั้งพร้อมคำเตือนแรง! เขาเผยสัญญาณเศรษฐกิจโลกอาจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งใหญ่ — พร้อมย้ำว่า “นี่อาจไม่ใช่แค่ความกลัวเกินเหตุ” เพราะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มชี้ชัดถึงความเปราะบางที่น่ากังวล แล้วเราควรกลัวหรือควรเตรียมฉลอง? มาร่วมเจาะลึกเหตุผล 3 ข้อที่ทำให้ Kiyosaki เชื่อว่า “พายุลูกใหญ่” กำลังมา อ่านต่อได้ในบทความนี้เลย!
ไนซ์ CNX เปิดใจ สูญเงิน 5 ล้านจากคริปโต เพราะ "โลภ" และ "ไม่ยอมตัดขาดทุน" เขาเคยหลงระเริงกับความสำเร็จรวดเร็ว จนพังหมดตัวในพริบตา วันนี้ไนซ์เตือนคนรุ่นใหม่ "อย่ารีบรวย" และ "อย่าโกงตัวเองด้วยความโลภ" การลงทุนต้องมีสติ ศึกษาลึก และรับผิดชอบการตัดสินใจด้วยตัวเอง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยกเลิกข้อกำหนดให้ธนาคารต้องแจ้งล่วงหน้าเมื่อต้องการทำธุรกิจเกี่ยวกับคริปโต สะท้อนท่าทีที่ “เปิดกว้าง” มากขึ้นต่อสินทรัพย์ดิจิทัล แม้ยังมีกฎเข้มจากปี 2023 ที่ใช้ควบคุมอยู่เบื้องหลัง นักวิเคราะห์มองว่านี่อาจเป็นสัญญาณของการปรับตัวเพื่อรองรับโลกการเงินยุคใหม่ แต่ก็ยังไม่ใช่ “ไฟเขียวเต็มรูปแบบ” แก่วงการคริปโต.
บทความนี้สรุปมุมมองของผู้เชี่ยวชาญต่อผลกระทบของนโยบายภาษีทรัมป์ที่มีต่อ Bitcoin โดยชี้ว่าแม้ระยะสั้นจะผันผวน แต่ระยะยาวยังมีศักยภาพเติบโต.