简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:“พวกเขาคือกลุ่มเด็กหนุ่มอัจฉริยะ ที่วันๆ ก็จะนั่งคลิกเมาส์ อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และหาโอกาสทำกำไร โกยเงินจากทั่วทุกมุมโลก”
พวกเขาคือกลุ่มเด็กหนุ่มอัจฉริยะ
ที่วันๆ ก็จะนั่งคลิกเมาส์ อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์
และหาโอกาสทำกำไร โกยเงินจากทั่วทุกมุมโลก
นี่คือคำพูดที่ Mugur Isarescu ผู้ว่าการธนาคารกลางประเทศโรมาเนีย กล่าวยกย่องถึงทีมนักเทรดค่าเงินที่สร้างรายได้เข้าประเทศถึง 8,400 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
พวกเขาคือใครกัน..!? เหตุใดจึงได้รับอนุญาตให้นำเงินทุนสำรองของประเทศ มาใช้ในการลงทุนได้!?
เราจะไปทำความรู้จักกันในบทความนี้ครับ…
ประเทศโรมาเนีย เป็นประเทศที่ก็ไม่ได้ร่ำรวยมาก ผู้คนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณเดือนละ 27,000 บาท
แม้จะมากกว่าประเทศไทย ที่มีประชากรมีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 16,400 บาท
แต่หากเทียบกับชาติยักษ์ใหญ่ในยุโรป ตัวเลขของโรมาเนีย ก็ยังน้อยกว่าประเทศบิ๊กเบิ้มอย่างเยอรมนี อยู่ประมาณ 4 เท่า!!
ขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของโรมาเนีย ก็อยู่อันดับที่ 47 ของโลก ด้วยตัวเลขประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท
(เสริมความรู้: ประเทศไทย มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่อันดับ 12 ของโลก ที่ 6.3 ล้านล้านบาท)
แต่ธนาคารกลางโรมาเนีย ก็มองว่าพวกเขาควรจะหาโอกาสสร้างผลตอบแทน จากเงินทุนสำรองที่มีอยู่นี้
นั่นจึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “ทีมนักเทรดค่าเงิน”
ทีมดังกล่าว ประกอบไปด้วยเด็กหนุ่มคนรุ่นใหม่ระดับหัวกะทิ 30 คน ซึ่งตามข่าวก็ไม่ได้มีการเปิดเผยชื่อ หรือยกย่องบุคคลใดบุคคลหนึ่งขึ้นมา
การทำงานของทีมนี้ เป้าหมายคือใช้กองทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นต้นทุน สร้างกำไรจากการเทรดค่าเงินให้ได้มากที่สุด
ผลงานของพวกเขาที่ผ่านมา 2 ปี ก็ค่อนข้างทำให้ผู้ว่าการธนาคารกลางรู้สึกพึงพอใจ
ในปี 2017 พวกเขาสามารถทำกำไรประมาณ 1,400 ล้านบาท
ในปี 2018 พวกเขาสามารถทำกำไรประมาณ 8,400 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนถึง 6 เท่า!!
แน่นอนว่า การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง… ยิ่งการเทรดค่าเงิน ก็ยิ่งมีความผันผวนและความเสี่ยงสูง
จากเงินทุนสำรองจำนวน 1.2 ล้านล้านบาทนั้น พวกเขาได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 5% ของเงินทุนสำรองเท่านั้น
ในจุดนี้ ทางผู้ว่าการธนาคารกลาง ให้ความเห็นว่าเพื่อเป็นการปกป้องตัวประเทศโรมาเนียเอง
หากเกิดกรณีเลวร้ายที่สุดขึ้นมา คือเงินหายไปหมดทั้งกอง
ส่วนของเงินทุนสำรองของทั้งประเทศ ก็จะไม่หายวับไปกับตา ยังเหลืออยู่มากถึง 95% เลยทีเดียว
เท่ากับว่า เงินทุนของทีมเทรดค่าเงินหัวกะทิ จะมีอยู่ประมาณ 60,000 ล้านบาท
และการทำกำไร 8,400 ล้านบาท หากเทียบกับต้นทุนแล้ว ก็ยังคงสูงถึง 14% ซึ่งเป็นตัวเลขผลตอบแทนของการลงทุนที่ไม่น้อยเลย
ลองจินตนาการว่าพวกเขานำเงินกำไรจุดนี้ ไปทบกับเงินต้นเดิม และทำผลกำไรได้ในปีต่อๆ ไป ไม่ต้องถึงระดับ 14% แต่แค่รักษาไว้ประมาณ 10%
เวลาผ่านไป 1 ปี จากเงิน 68,400 ล้านบาท จะกลายเป็น 75,200 ล้านบาท
เวลาผ่านไป 5 ปี กำไร 10% ต่อปี จะกลายเป็นเงิน 110,000 ล้านบาท
เวลาผ่านไป 10 ปี จะกลายเป็นเงิน 177,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าเงินทุนที่พวกเขาได้รับมาตอนแรกถึง 3 เท่า!!
อย่างไรก็ตาม ความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้นนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่าทีมนักเทรดค่าเงินจะคงอัตราการทำกำไรเช่นนี้ไว้ได้อย่างสม่ำเสมอ
ทีมที่ผู้ว่าการธนาคารกลางโรมาเนียบอกว่าทั้ง 30 คนคือ “เด็กหนุ่มอัจฉริยะ” นั้น
จะสามารถทำกำไรให้กับประเทศของพวกเขาไปอีกเป็นระยะเวลา 10 ปีได้จริงหรือไม่ คงจะต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
แต่นั่นก็ทำให้เราได้ข้อคิดอย่างหนึ่งว่า..
ในโลกของธุรกิจและการเงินนั้น โดยเฉพาะในยุคออนไลน์ที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกันได้ ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก
“โอกาส” มีอยู่รอบตัวเราเสมอ และ “เงินทอง” ก็ลอยอยู่รอบตัวเราเช่นกัน
อยู่ที่ว่าเราจะมองเห็นโอกาสนั้นก่อน ไปไล่ตามมันก่อน และคว้ามันไว้ได้ก่อนหรือไม่
มามองที่ตัวเราเอง ตอนนี้เรามองเห็นโอกาสอะไรหรือยัง เราเริ่มต้นวิ่งเข้าหามันหรือยัง เราได้ลองไปล้มลุกคลุกคลานกับมันรึเปล่า หรือเราปล่อยมันผ่านไปเฉยๆ
มีแต่ตัวเราเท่านั้นครับ ที่จะให้คำตอบได้…
เรียบเรียง ประณิธิ วงศ์คำจันทร์ และ billionmindset.com
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทความนี้เสนอ 5 กลยุทธ์การเงินสำหรับคนวัยกลางคนในยุคแซนด์วิชเจเนอเรชั่น โดยเปรียบเทียบกับแนวคิดการเทรดฟอเร็กซ์ เพื่อให้เข้าใจง่ายและนำไปปรับใช้ได้จริง ครอบคลุมเรื่องการจัดการรายจ่าย การเตรียมเงินสำรอง การวางแผนร่วมกับครอบครัว การใช้เครื่องมือทางการเงิน และการวางเป้าหมายระยะยาว ช่วยให้ผู้อ่านบริหาร “พอร์ตชีวิต” อย่างมีสติและยั่งยืน
รีวิวโบรกเกอร์
เหตุการณ์ Black Wednesday ในปี 1992 คือวันที่ George Soros ใช้ความเข้าใจเชิงโครงสร้างและทุนมหาศาล “ชอร์ตค่าเงินปอนด์” จนธนาคารกลางอังกฤษต้องถอนตัวจากระบบ ERM และขาดทุนกว่า 3.3 พันล้านปอนด์ ขณะที่ Soros ทำกำไรพันล้านดอลลาร์ เหตุการณ์นี้ตอกย้ำว่า ในตลาดการเงิน “ใครเข้าใจระบบก่อน ย่อมได้เปรียบ” และแม้แต่นโยบายรัฐ ก็ไม่อาจต้านแรงของกลไกตลาดได้
บทความเตือนนักลงทุนมือใหม่ถึง 5 พฤติกรรมเสี่ยงที่มักทำให้พอร์ตพัง เช่น เทหมดหน้าตัก, ไม่ยอมขายขาดทุน, ซื้อเพราะ FOMO, เทรดรายวันไร้แผน และไม่อัปเดตความรู้ แนะนำให้มีวินัย กระจายความเสี่ยง และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่ออยู่รอดในตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
Doo Prime
ATFX
Saxo
IC Markets Global
FXTM
FBS
Doo Prime
ATFX
Saxo
IC Markets Global
FXTM
FBS
Doo Prime
ATFX
Saxo
IC Markets Global
FXTM
FBS
Doo Prime
ATFX
Saxo
IC Markets Global
FXTM
FBS